ดินเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการเกษตร เนื่องจากดินเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของพืชโดยทั่วไปดินที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ
- ดินที่อุดมสมบูรณ์
- มีแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบุโตของพืช
- มีสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสมสำหรับเป็นที่ยึดเกาะของรากพืช
- ช่วยยึดลำต้นให้แน่น ไม่ให้ล้มเอียง
- ทำหน้าที่เก็บกักน้ำเพื่อการเจริญเติบโตของพืช
- ให้อากาศแก่รากพืชเพื่อการหายใจ
- องค์ประกอบและสัดส่วนของดินในอุดมคติต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ อนินทรียวัตถุ
- อินทรียวัตถุ น้ำหรือสารละลายและอากาศ ซึ่งมีสัดส่วนเท่ากับ 45 5 25 และ 25 เปอร์เซ็นต์
- โดยปริมาณหรือปริมาตร
อนินทรียวัตถุ 45%
อินทรีย์วัตถุ 5%
น้ำหรือ สารละลาย 25%
อากาศ 25%องค์ประกอบของดินชั้นบนซึ่งเหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืช
1.อนินทรียวัตถุ เป็นองค์ประกอบส่วนที่เป็นแร่ในดิน เกิดจากการผุพังสลายตัวของ หินและแร่ อนินทรีย วัตถุในดินเป็นองค์ประกอบหลักที่แสดงถึงลักษณะทางกายภาพของดิน เช่น เนื้อดิน (soil texture)2.อินทรียวัตถุเกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังหรือการสลายตัวของเศษซากพืชและสัตว์ อินทรียวัตถุเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชและแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ในดินมีความสำคัญต่อสมบัติด้านต่างๆ ของดินทั้งทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ3. น้ำหรือสารละลาย พบอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินหรืออนุภาคดิน (pore space) น้ำจึงเป็นตัวกลางสำหรับทำปฏิกิริยาทาง เคมีในดิน ช่วยละลายธาตุอาหารต่างๆ ในดิน รวมทั้งช่วยในการดูดซึมและเคลื่อนย้ายธาตุอาหารพืช4. อากาศ พบอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินหรืออนุภาคดิน ซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วยก๊ซไนโตรเจน ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊ซออกซิเจนจะมีน้อยกว่าในบรรยากาศ ขณะที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะมีมากกว่าในบรรยากาศ ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากกระบวนการหายใจของรากพืชและจุลินทรียในดินวิธีการปรับปรุงบำรุงดิน
เป็นการช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์และช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชด้วย วิธีการต่างๆ ดังนี้
1. การปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ้ยแร่ธาตุ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ปุ้ยแร่ธาตุที่ได้จากหินและแร่ธรรมชาติคือ หินฟอสเฟต และแร่ซิลไวท์ เช่น ปุ้ยโพแทสเซียม ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 ปุ๋ยแร่ธาตุที่ได้จากการผลิตโดยวิธีการทางเคมีเช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ฯลฯ ปุ๋ยแร่ธาตุทั้ง 2 กลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้ดินตามระยะเวลาที่พืชต้องการ เพื่อนำไปสร้าง
การเจริญเติบโตและผลผลิตได้ทันความต้องการของพืช
2. การปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ้ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและปุยพืชสด
3. การปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ้ยชีวภาพ (Biofertilizer)
เป็นปุยที่ได้จากวัสดุที่มีจุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งเป็นตัวช่วยสร้างหรือปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ ให้กับพืช
4. การปรับปรุงบำรุงดินด้วยการไถกลบตอซัง
เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินช่วยปรับปรุงบำรุงดินทั้งด้านกายภาพ เคมีและชีวภาพของดิน